กระแส soft power มาพร้อมๆกับละคร พรหมลิขิต ภาคต่อจาก ละครบุพเพสันนิวาส
ประเด็นเรื่อง soft power ที่คนไทยพูดกันในหลายวงการ แต่ดูประหนึ่งว่า มีคนจำนวนมากรวมทั้งผู้กำหนดนโยบาย soft power ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ และทำความรู้จักลงลึกในความหมายและปริบทของ soft power ที่ชัดเจน
หลายคนบอกว่า soft power คือ หมูกระทะ
บางคนบอกว่า ก็ลิซ่า Blackpink นั่นไง บ้างก็ว่าจัดแฟชั่น วีค ในเมืองไทย
ออเจ้าหลายคน ก็บอกว่า จัดกิจกรรมเยอะดึงคนมาเมืองไทย คือ soft power หลายหน่วยงานบอกว่า ก็อาหารไทย แหล่งท่องเที่ยวนั่นไงล่ะ คือ soft power
ซึ่งในสำหรับประเทศไทย หากหยิบยกสิ่งที่เรียกว่า Soft Power ที่ภาครัฐวางกำหนดขอบเขตมีสัญลักษณ์ 5F ได้แก่
- Food อาหารไทย
- Film ภาพยนตร์ไทย
- Fashion การออกแบบไทย
- Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย
- Festival เทศกาลและประเพณีไทย
แต่กรอบแนวทางที่ตั้งมา ยังไม่มีข้อมูลที่เด่นชัดว่า อะไรคือ DNA แห่ง soft power ?
แต่เมื่อพิเคราะห์ดูจากสิ่งที่เห็น ดูข้อมูลวิจัยจากหลายประเทศที่สำเร็จมาแล้ว ผมเลยจะขอบัญญัติไว้ว่า softpower คือ “พลังนุ่มนิ่มที่แสดงออกอย่างนุ่มนวล มีการวางแผน เติมความคิดสร้างสรรค์ มีดำเนินการต่อเนื่อง อย่างเป็นระบบและกระบวนการ โดยใช้เวลาในการสร้าง และส่งผลให้ผู้คนมีความเชื่อ ศรัทธา ยอมรับ และแปรเปลี่ยนความชอบมาเป็นการยินยอมจ่ายเงิน เพื่อให้ได้เข้าถึงสิ่งนั้น ด้วยความยินดี”
พลังนุ่มนวล จะประกอบด้วยกลยุทธ์ 3 อย่าง คือ
- วัฒนธรรม/ประเพณี อาจจะมีมาดั้งเดิม สูญหายไป หรือสร้างขึ้นมาใหม่
- Political Policy กลยุทธ์ทางการเมือง
- International policy ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ
ทั้งหมด ทำแบบเนียนเนียน เนิบเนิบ นุ่มนวล
ข้อสำคัญของการทำ soft power ต้องมีกระบวนการในการสร้าง กระบวนการรักษา กระบวนการส่งเสริมที่จริงการกำเนิดของ soft power มาจากการคิดกลยุทธ์ที่มาทดแทน หรือ ดำเนินการควบคู่กับ Hard Power ที่เป็นยุทธการทางทหารและการขยายอาณานิคม ใน 2 ข้อหลัง เพื่อเฟ้นหาดินแดน ทรัพย์สิน แหล่งอาหาร พลังงาน และการครอบงำทางสังคม เผยแพร่ความคิด ซึ่งเป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณทั้งในซีกโลกตะวันตกและเอเชีย
แต่เมื่อสังคมมีการพัฒนามากขึ้น แนวทางของ Hard power จึงแปรเปลี่ยนมาใช้พลัง soft power ทดแทนมากขึ้น เราจึงเห็นการสร้างวัฒนธรรมของชาติมหาอำนาจ ในด้านต่างๆทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ความเชื่อทางศาสนา ผลิตภัณฑ์ บริการ software ความบันเทิงรูปแบบต่างๆผ่านช่องทางและนวตกรรมที่ทันสมันในแต่ละยุค และใช้วาทกรรมในการเชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วมและเห็นด้วย วาทกรรมในเชิงพลังทางทหารและการเมือง การต่างประเทศ มักจะมาในรูปแบบโฆษณาชวนเชื่อ อาทิ จักรวรรดินาซี การสร้างกระแสรักชาติของสหรัฐ และญี่ปุ่นต่างๆ ต่อมาจึงปรับมานำความคิดและวัฒนธรรมผ่านความบันเทิง ไปสู่กลุ่มชน สังคมไหนมีความเปราะบางหรือไม่มีวัฒนธรรมทีเข้มแข็งเข้มงวด การเผยแพร่วัฒนธรรมจากอีกซีกโลกหนึ่งไปยังสังคมนั่น ก็ง่ายดาย สังคมใดแม้เป็นประเทศเล็กๆ แต่มีศักยภาพและความเข้มข้นทางวัฒนธรรมสูง ก็สามารถรักษาอัตลักษณ์และส่งออกวัฒนธรรมไปสู่แหล่งอื่นๆของโลกได้ดีเช่นกัน
สรุปได้ว่า บางอย่างเราพัฒนาเป็นพลัง softpower ได้ บางอย่างที่อ้างว่า softpower ที่แท้อาจเป็นหางกระทิ มิใช่แก่นกระพี้แท้ๆที่สร้าง Brand หรือรายได้ที่ยั่งยืนนะออเจ้า
เป็นยังไงกันบ้างคะออเจ้ากับเกล็ดความรู้ที่แอดมินได้นำมาฝากกับทุกคน มีประโยชน์กันไม่มากก็น้อยเลยใช่มั้ยล้า แต่ที่สำคัญที่สุดเมื่อกระแสโลกเปลี่ยนแปลงไปไวอย่างรวดเร็ว แะนั้นการใช้กลยุทธ์การตลาดก็ต้องเปลี่ยนแปลงตาม วันนี้คุรมีผู้ช่วยด้านการตลาดออนไลน์แล้วหรือยัง ถ้ายังให้เราช่วยคุณได้นะคะ
ขอขอบคุณแหล่งความรู้ดีๆจาก : https://www.songsue.co/18791/